ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร่างแหเอนโดพลาซึม (endoplasmic raticulum)


ร่างแหเอนโอพลาซึม (endoplasmic reticulum : ER) เป็นท่อแบนใหญ่ บางบริเวณโป่งออกเป็นถุง เรียงขนานกันเป็นชั้น ๆ ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่มีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียส และเชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ผิวนอกของร่างแหเอนโอพลาซึม ร่างแหเอนโอพลาซึม มี  2  ชนิด คือ
1. ร่างแหเอนโอพลาซึมชนิดผิวขรุขระ (rough endoplasmic reticulum : RER) เพราะมีไรโบโซมมาเกาะติดอยู่ทำให้มองดูคล้ายผิวขรุขระ เป็นบริเวณที่ไรโบโซมสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งบรรจุในเวสิเคิล และลำเลียงออกนอกเซลล์ หรือส่งต่อไปยังกอลจิคอมเพล็กซ์ หรือเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
2. ร่างแหเอนโอพลาซึมชนิดผิวเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER) เพราะไม่มีไรโบโซมมาเกาะผิวจึงดูเรียบ
ทำหน้าที่สังเคราะห์สารสเตรอยด์  เช่น  ฮอร์โมนเพศ ไตรกลีเซอไรด์ และสารประกอบคอเลสเทอรอล  รวมทั้งยังกำจัดสารพิษและควบคุมการผ่านเข้าออกของแคลเซียมไอออนในเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ มีมากในเซลล์สมอง  ต่อมหมวกไต  อัณฑะและรังไข่



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แวคิวโอล (vacuole)

แวคิวโอล ( vacuole)  คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์ (tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอล แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1. คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล( contractile vacuole)   ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม 2. ฟูดแวคิวโอล ( food vacuole) บรรจุอาหารที่รับมาจากนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบใน เซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 3. แซบแวคิวโอล ( sap vacuole) พบในเซลล์พืช ตอนอายุน้อย ๆ มีจำนวนมาก แต่เมื่ออายุมากเข้าจะรวมเป็นถุงเดียวขนาดใหญ่ มีหน้าที่สะสมสาร เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล สารพิษ

กอลจิคอมเพล็กซ์ (golgi complex)

กอลจิคอมเพล็กซ์ ( golgi complex , Golgi bodies , Golgi apparatus ) เป็นกลุ่มของถุงกลมแบนขนาดใหญ่ ตรงขอบโป่งพอง ใหญ่ขึ้น เป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อยู่ใกล้กับเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม พบในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด   หน้าที่สำคัญ คือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน   มีการจัดเรียงตัวให้เหมาะสมกับการทำงาน เกี่ยวข้องกับการสร้างอะโครโซม ( acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของอสุจิ ทำหน้าที่เจาะไข่เมื่อเกิดการปฏิสนธิ กอลจิคอมเพล็กซ์ ทำหน้าที่เติมคาร์โบไฮเดรตให้กับ โปรตีน หรือลิพิด ที่รับมาจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ ( รวบรวมบรรจุและขนส่ง )