คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติดที่มีสีเขียวพบเฉพาะในเซลล์พืช
และสาหร่ายเกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น
ภายในโครงสร้างพลาสติคจะมีเม็ดสีหรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์(chlorophyll)
เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (pastid) ชนิดอื่น ๆ นอกจากคลอโรพลาสต์ได้แก่ โครโมพลาสต์ (chromoplast) เป็นพลาสติดที่บรรจุเม็ดสีชนิดต่าง ๆ เช่น ไม่มีเม็ดสีเรียกว่า
ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีนหรือเก็บสะสมแป้ง หน้าที่สำคัญของคลอโรพลาสต์ คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง
(photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน
เหมาะสมต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด ภายในมีโครงสร้างคล้ายถุงแบน ๆ
มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylakoid) และไทลาคอยด์ จะเรียงซ้อนกันเป็นตั้ง
เรียกว่า กรานุม (granum) แต่ละกรานุมมีโครงสร้างเชื่อมต่อถึงกัน บนไทลาคอยด์มีสารสีที่ใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง เช่น คลอโรฟีลล์
แคโรทีนอยด์ และมีของเหลวที่เรียกว่า สโตรมา อยู่รอบไทลาคอยด์ ในสโตรมามีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ร่างแหเอนโอพลาซึม ( endoplasmic reticulum : ER ) เป็นท่อแบนใหญ่ บางบริเวณโป่งออกเป็นถุง เรียงขนานกันเป็นชั้น ๆ ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่มีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียส และเชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ผิวนอกของร่างแหเอนโอพลาซึม ร่างแหเอนโอพลาซึม มี 2 ชนิด คือ 1. ร่างแหเอนโอพลาซึมชนิดผิวขรุขระ ( rough endoplasmic reticulum : RER) เพราะมีไรโบโซมมาเกาะติดอยู่ทำให้มองดูคล้ายผิวขรุขระ เป็นบริเวณที่ไรโบโซมสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งบรรจุในเวสิเคิล และลำเลียงออกนอกเซลล์ หรือส่งต่อไปยังกอลจิคอมเพล็กซ์ หรือเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ 2. ร่างแหเอนโอพลาซึมชนิดผิวเรียบ ( smooth endoplasmic reticulum : SER) เพราะไม่มีไรโบโซมมาเกาะผิวจึงดูเรียบ ทำหน้าที่สังเคราะห์สารสเตรอยด์ เช่น ฮอร์โมนเพศ ไตรกลีเซอไรด์ และสารประกอบคอเลสเทอรอล รวมทั้งยังกำจัดสารพิษและควบคุมการผ่านเข้าออกของแคลเซียมไอออนในเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ มีมากในเซลล์สมอง ต่อมหมวกไต อัณฑะและรังไข่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น